หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555

สื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อการสร้างภาพลักษณ์ทางเพศ

ในปัจจุบันสื่อถือว่าเป็นสิ่งที่ง่ายต่อการเข้าถึงได้ไม่ว่าจะเป็น หนังสือ โทรทัศน์ เพลง หรือสื่อออนไลน์ โดยสื่อเป็นสิ่งที่สะท้อนคุณค่าและอุดมคติเกี่ยวกับเพศ สะท้อนให้เห็นภาพของผู้หญิงผู้ชายตลอดจนความสัมพันธ์ของทั้งสองเพศตามแบบอุดมคติ และทำให้ผู้รับสารหลายคนเข้าใจว่าผู้หญิงและผู้ชายจะต้องเป็นแบบนั้นตามที่สื่อได้กำหนดไว้
                ในหัวข้อนี้ผมขออธิบายโดยยกตัวอย่างกรณีศึกษาของสื่อโฆษณา ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างอัต-ลักษณ์ทางเพศ โฆษณาเป็นสิ่งที่คนดูสื่อต้องดู จะอยากดูหรือไม่อยากดูก็ตาม เพราะโฆษณาเป็นหลอดเลือดสำคัญในการหล่อเลี้ยงองค์กรให้อยู่รอด โฆษณาเป็นสิ่งที่นักการตลาดเป็นคิดขึ้นเพื่อขายสินค้า โดยสร้างกุล-ยุทธ์ทางการตลาดให้คนในสังคมกระตุ้นเกิดการตระหนักว่าสินค้าที่ตนขายนั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตและเป็นสิ่งที่สังคมให้ความสำคัญ อีกทั้งเป็นสิ่งที่กำหนดอัตลักษณ์ทางเพศให้ผู้เสพสื่อเข้าใจว่าจะต้องเป็นอย่างนี้ถึงจะสวยถึงจะดูดี เช่น โฆษณาเนเจอร์กิฟ เราจะสังเกตเห็นได้ว่า เป็นโฆษณาที่นักการตลาดสร้างอัตลักษณ์ของผู้หญิงให้ผู้ชมเข้าใจว่าผู้หญิงที่Perfectนั้นต้องสวยและดูดี หากหุ่นไม่ดีก็จะไม่สามารถดึงดูดเพศตรงข้ามให้สนใจได้ หากเป็นผู้ชายก็ต้องเป็นคนที่Smart มีกล้ามเนื้อเป็นมัดๆ ดูได้จากโฆษณาขายกางเกงในหรือโฆษณาขายน้ำหอม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ตอกย้ำคนดูทุกวัน เป็นการสร้างภาพตัวแทนว่าผู้หญิงหรือผู้ชายต้องเป็นอย่างนั้นตามที่สื่อได้กำหนดไว้
                ในความเป็นจริงแล้วไม่เห็นจำเป็นต้องสวยหล่อหรือหน้าตาดีก็ได้แต่อยู่ที่มารยาท การวางตัวในสังคมหรืออยู่ด้วยกันกับคนในสังคมให้มีความสุขมากกว่า

อัตลักษณ์ทางเพศคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม

อัตลักษณ์ทางเพศคือ การที่เรารับรู้ว่าเราว่าเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ซึ่งอัตลักษณ์ทางเพศนี้สามรถกำหนดบทบาทให้แก่เรา ทำให้เรารู้ว่าเราควรจะดำเนินชีวิตและดำเนินความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆรอบตัวเราอย่างไร สำหรับบางคนแล้วอัตลักษณ์ทางเพศไม่ใช่เป็นสิ่งติดตัวมาตั้งแต่เกิดเท่านั้นแต่อัตลักษณ์ทางเพศนั้นถูกแวดล้อมมาจากโครงสร้างทางสังคม ครอบครัว หรือสื่อต่างๆคอยตอดย้ำตลอดเวลา เช่นผู้ชายเป็นคนที่ความแข็งแรง มีความเป็นผู้นำ ส่วนผู้หญิงต้องเป็นคนที่มีความละเมียดละไมอ่อนน้อมถ่อมตนทำตัวเป็นเป็นแม่ศรีเรียน ส่วนเพศที่สามนั้นหากเรามองในแง่ของการนำเสนอผ่านสื่อต่างๆ เพศที่สามนั้นถือได้ว่าเป็นที่ยอมรับพอสมควรในสังคมยุคปัจจุบัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะยกย่องให้เป็นตัวเด่นในสังคม เพราะยังมีกำแพงของโครงสร้างทางสังคมแบบเก่าๆขวางกั้นอยู่หรือกลุ่มคนบางกลุ่มที่ไม่ยอมรับเพศที่สามอยู่
                แต่อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าอัตลักษณ์ทางเพศที่ผิดแปลกไปจากต้นฉบับเดิมคือ หญิงและชายจะอยู่ด้วยกันไม่ได้ เพราะสังคมยุคปัจจุบันเป็นยุคที่ค่อนข้างจะเปิดกว้างในเรื่องสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของบุคคลต่างหากไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนก็สามารถกระทำได้ อีกทั้งในยุคปัจจุบันเป็นยุคที่การสื่อสารไร้พรมแดนเกิดการหลั่งไหลเข้ามาของวัฒนธรรมอื่นเข้ามาอย่างมากมาย ส่งผลต่อวิถีชีวิต วิธีคิดของคนตามกันไปทำให้เกิดการคล้อยตามวัฒนธรรมอื่นอย่างง่ายดายโดยผ่านการตอกย้ำจากสื่อต่างๆทุกวัน
                อัตลักษณ์ทางเพศ เป็นสิ่งสำคัญต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมเพราะแต่ละวัฒนธรรมนั้นให้ความสำคัญเกี่ยวกับเพศแตกต่างกันเช่นวัฒนธรรมไทย ผู้หญิงต้องเป็นกุลศตรีแม่ศรีเรือน ส่วนผู้ชายออกไปทำงานนอกบ้านหาเลี้ยงครอบครัว วัฒนธรรมอิสลามผู้หญิงต้องใส่ผ้าคลุมศรีษะหรือปกปิดทุกส่วนให้มิดชิดตามที่ศาสนาได้กำหนดเอาไว้ ส่วนผู้ชายมีหน้าที่หาเลี้ยงครอบครัว ในศาสนาอิสลามไม่มีคำว่าเพศที่สาม หากใครเป็นเพศที่สามถือว่าเป็นบาปเพราะว่าไม่มีความภาคภูมิใจในสิ่งที่พระเจ้าให้มา ส่วนวัฒนธรรมตะวันตกอาจมองว่าทุกคนมีสิทธิเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นทั้งชายหญิงเพศที่สาม
                การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมนั้นเป็นการยอมรับตัวตนของคนอื่นที่ไม่เหมือนกับเรา เราต้องเข้าใจว่าคนเราต่างก็มีวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง ไม่ใช่วัฒนธรรมของเราของเราอย่างเดียวที่ดีงาม พหุวัฒนธรรมอาจจะล้มเหลวได้หากเราไม่เข้าใจหรือเรามีภาพที่ผิดเบี้ยวเกี่ยวกับผู้อื่น

การบริหารองค์กรในรูปแบเครือข่ายมีความสำคัญอย่างไรกับสถานการณ์ความขัดแย้ง

นายมูฮำหมัดอายุบ ปาทาน บรรณาธิการอวุโส DeepSouthWatch กล่าวว่า ผมว่ามันจำเป็นเพราะ ในสถานการณ์คามขัดแย้งในการลงพื้นที่แต่ละครั้งมันต้องอาศัยเครือข่ายเพราะว่าในปัจจุบันนี้มันไม่ใช่เป็นการทำงานแบบเก่า ต้องอาศัยความรอบด้าน ต้องตรวจสอบข้อมูลในเรื่องความถูกต้องมากยิ่งขึ้น เราไม่สามารถทำงานในด้านเดียวได้เพราะว่าการทำงานหรือการหาข้อมูลในด้านเดียวมันจะเพิ่มความรุนแรงขึ้นไปอีก แต่หากเรามีเครือข่ายมันจะช่วยได้ในเชิงการตรวจสอบข้อมูลได้ในการลงพื้นที่ไปหาแหล่งข่าวที่เราสามารถไปพูดคุยกับคนในพื้นที่ได้เพราะเขาไว้ใจเรา เช่น เครือข่ายเยียวยา เครือข่ายครูสอนศาสนา เป็นต้น ส่วนใหญ่เครือข่ายในสถานการณ์ความขัดแย้งเครือข่ายในภาครัฐเราไม่ค่อยกังวลเพราะเราหาข้อมูลได้แต่เครือข่ายในหมู่ประชาชนเราหาข้อมูลยาก การที่เรามีเครือข่ายแบบนี้เป็นการที่ทำให้เราสามารถมีข้อมูลข่าวสารที่สมดุลกันและอีกอย่างจะเป็นการดัลเบิ้ลเช็กให้เราด้วย

                ในปัจจุบันสื่อในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ถูกปรับให้ทำงานเป็นเครือข่ายมากขึ้น เพราะหากไม่ปรับตัวเองมันจะทำงานยากในสถานการณ์ความขัดแย้ง จะสังเกตเห็นได้ว่าปัจจุบันจะมีเครือข่ายเพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น เครือข่ายช่างภาพชายแดนใต้ เครือข่ายสื่อทางเลือก การทำงานเป็นเครือข่ายไม่ใช่เฉพาะในสถานการณ์ความขัดแย้งเพื่อให้ได้ข้อมูลข่าวสารอย่างเดียว มันสามารถทำให้ทุกคนมีพื้นที่ในการเรียนรู้ด้วย ในขณะเดียวกันหากไม่มีเครือข่ายจะเป็นการยากในการทำงาน และอีกอย่างในการทำงานเครือข่ายจะเป็นการผ่อนให้สื่อมวลชนสามารถที่จะตรวจสอบกันเองได้ด้วย โดยจะมีเครือข่ายคอยแจ้งเตือนว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง ในระบบเครือข่ายมันไม่ใช่เฉพาะแค่บอกว่าเราทำงานเป็นเครือข่าย ในกลุ่มมันเองก็มีกลุ่มในโซเชียลแน็ตเวิร์คอันนี้ก็เป็นเครือข่ายในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเหมือนกัน  ว่าคนไหนทำข่าวเรื่อง ประเด็นอะไร อันนี้คือข้อดีทำให้ทุกคนได้มีสนามของตัวเองในการที่จะเรียนรู้ จากอดีตที่สื่อเคยทำงานเป็นองค์กรเดี่ยวมันไม่ค่อยปรับตัวในลักษณะโซเชี่ยวเน็ตเวิร์ค  ยิ่งสื่อทำงานเป็นเครือข่ายมากขึ้นเท่าไหร่การเชื่อมโยงประเด็นก็จะยิ่งแตกเข้าไปเรื่อยๆและจะเป็นประโยชน์ในการขยายข่าวได้ด้วย
                จริงๆการทำงานแบบเครือข่ายสะท้อนให้เห็นชัดว่าการทำงานแบบเครือข่ายมันสำคัญ คือ 1.มันสะท้อนตั้งแต่ที่มีกาก่อตั้งศูนย์ข่าวอิสรามันจะเห็นชัดว่ามันก็ปรับตัว แม้กระทั่งศูนย์เฝ้าระวังฯเองหากไม่ไม่มีเครือข่ายในตัวมันเองก็จะทำงานไม่ได้ในพื้นที่แบบนี้ เพราะคนมีความระแวงกัน ประชาชนระแวงรัฐ รัฐระแวงประชาชน และสื่อมวลชนเองประชาชนก็ไม่ค่อยไว้ใจโดยถูกเครมมาอยู่กับฝ่ายรัฐเสียแล้ว หากไม่มีเครือข่ายจะเป็นการยากมากที่จะลงไปทำงาน
 
2.สามารถประเมินสถานการณ์ได้เพราะเครือข่ายมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอยู่ตลอดเวลา ว่าข้อมูลต่างๆเป็นอย่างไรจะง่ายในการตรวจสอบ แต่การทำงานเป็นระบบแบบนี้จะต้องมีความอดทนในการปรับตัวจากที่เคยทำงานแบบเดี่ยว  3.สามารถกระจายข่าวสารได้เร็ว โดยไม่สนใจสื่อกระแสหลักจะเสนอหรือไม่เสนอ

วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554


                                 จดหมายถึง "ศรีบูรพา"
          ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันโลกได้มีการปรับเปลี่ยนอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภูมิศาสตร์ สภาพแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ แม้กระทั้งมนุษย์เราก็ได้ปรับเปลี่ยนไปตามวงโคจรของโลกเช่นกัน เพื่อจะปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่เปลี่ยนไปเพื่อความอยู่รอดของตัวเองและเผ่าพันธุ์ หลายคราสิ่งเหล่านี้ทำให้มนุษย์เห็นแก่ตัว เห็นแก่พวกพ้อง และเห็นแก่คนรู้จัก ถึงอย่างไรก็ตามโลกนี้ยังไม่เคยสิ้นคนดีสักทีไม่ว่ายุคสมัยใดก็ตาม
          “ ศรีบูรพา ” เป็นนามปากกาของกุหลาบ สายประดิษฐ์ เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่ประกอบตามหลักวิชาชีพ ที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยให้หนังสือพิมพ์มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก โดยยิ่งสังคมประชาธิปไตยแล้วช่องทางในการแสดงความคิดเห็นคงจะขาดเสียมิได้เลย เพราะเป็นอาวุธสำคัญของประชาชนในการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของตัวเอง อย่างไรก็ตามแต่สิทธิเสรีภาพไม่ได้หมายความว่าเราจะทำอะไรกับใครก็ได้ทุกสิ่งทุกอย่างต้องอยู่บนศีลธรรมในบ้านเมืองนั้นด้วย มิฉะนั้นแล้งสิทธิเสรีภาพก็ไม่ต่างกับผู้ร้ายที่คอยจ้องทำร้ายผู้อื่นเมื่อมีโอกาส
          ใน
1 ศตวรรษที่ผ่านมาถือว่าเป็นหลักประกันเสรีภาพของประชาชนในการแสดงออกความคิดเห็น เพราะเสรีภาพเป็นหัวใจสำคัญขอหนังสือพิมพ์ “ หนังสือพิมพ์อาจมีหลายอย่าง แต่สิ่งที่ข้าพเจ้า (ศรีบูรพา) คำนึงมากที่สุดคือความเป็นอิสระ เพราะถ้าขาดสิ่งนี้เสียแล้ว หนังสือพิมพ์ก็เป็นหนังสือพิมพ์ไปไม่ได้ หรืออย่างน้อยก็เป็นหนังสือพิมพ์ที่ดีไม่ได้ ” ซึ่งในสมัยนี้หนังสือพิมพ์ถือว่าเป็นอาวุธสำคัญของประชาชนในการแสดงออกความคิดเห็น อันประกอบไปด้วยหลักฐานและเหตุผล โดยที่หนังสือพิมพ์ไม่ต้องสนใจใครทั้งนั้น สนใจแต่เพียงหน้าที่ของตนเองก็พอ ในที่นี้หมายถึงต้องไม่เสนอข่าวหรือความคิดเห็นที่เป็นอคติ ในสมัย 1 ศตวรรษที่ผ่านมาถือได้ว่าหนังสือพิมพ์เป็นช่องทางเดียวที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ในปัจจุบันไม่ได้เป็นอย่างนั้นแล้ว ช่องทางในการสื่อสารของประชาชนไม่ได้มีแค่หนังสือพิมพ์อย่างเดียวเท่านั้น แต่ช่องทางในการสื่อสารของประชาชนมีมากมายเหลือเกิน มากมายจนบางครั้งผู้ใช้ไม่ได้คิดถึงสารที่ส่งออกไปว่ากระทบต่อบุคคลอื่นมากน้อยเพียงใด ไม่ว่าจะเป็น Facebook Twitter GooglePlus Blog เป็นต้น  
          หากท่านศรีบูรพาตื่นขึ้นมาในตอนนี้คงประหลาดใจใช่ย่อยกับสังคมที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะสังคมออนไลน์(อินเตอร์เน็ต)มีเวลาเป็นแค่วินาทีในการสื่อสารเท่านั้นเอง ไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของโลกก็ยังสามารถสื่อสารกันได้อย่างสบาย ทำเอาโลกทั้งโลกแคบแค่นิดเดียว แคบแค่เพียงหน้าจอสี่เหลี่ยมของคอมพิวเตอร์เท่านั้นเอง แม้กระทั่งเด็กตัวเล็กๆก็ยังใช้สื่อออนไลน์กันทั่วไป ในต่างประเทศ(อียิปต์) สื่อออนไลน์อย่าง Facebook ทรงมีพลังมากในการล้มผู้นำที่ไม่เป็นธรรมได้ ด้วยการใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารกับประชาชนทั่วประเทศได้ออกมาเรียกร้องใช้สิทธิของตัวเองในการขับไล่ผู้นำที่ไม่เป็นธรรมออกจากประเทศ ซึ่งได้รับประสิทธิผลเป็นอย่างมาก อีกอย่างที่ท่านศรีบูรพาคงประหลาดใจ คือ ในสมัยนี้หนังสือพิมพ์ไม่ได้เป็นแค่กระดาษอย่างเดียวเสียแล้ว แต่ได้ปรับเปลี่ยนเป็นหนังสือพิมพ์ออนไลน์ให้เข้ากับยุคสมัย ที่ประชานมีสิทธิ์เลือกในการเสพสื่อ เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง โดยที่ทุกคนบนโลกนี้สามารถอ่านตอนไหนก็ได้ตลอด 24 ชั่วโมง และเปิดโอกาสให้กับประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงออกความคิดเห็นต่อสิ่งนั้นๆได้หรือที่เรียกกันว่าการสื่อสารสองทางทั้งคนส่งสารและคนรับสารสามารถโต้ตอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ ซึ่งแตกต่างจากเมื่อก่อนที่เป็นแค่การสื่อสารทางเดียวเท่านั้น โดยที่ผู้ส่งสารสามารถส่งสารได้เพียงฝ่ายเดียว ผู้รับสารไม่สารถที่จะโต้ตอบอะไรได้ ในส่วนนี้อาจจะทำให้การนำเสนอข้อมูลข่าวสารผิดเพี้ยนจากความจริงหรือข้อมูลไม่ครบถ้วนก็เป็นได้
          ไม่ได้มีเพียงเท่านี้ที่สังคมสื่อมวลชนได้เปลี่ยนไป เมื่อก่อนเราอาจเห็นนักข่าวมืออาชีพทำงานหาข้อมูลข่าวสารเองและลงไปเผยแพร่ในสื่อกระแสหลักซึ่งบางครั้งข้อมูลบางอย่างไม่เป็นความจริงที่ถูกถ้วนเลยทำให้เกิดนักข่าวพลเมืองขึ้นอย่างมากมาย เพื่อช่วยในการบอกเล่าข่าวสารถึงความเป็นไปในสิ่งที่เกิดขึ้น ณ เวลา สถานที่นั้นๆ และนำไปเผยแพร่บนสื่อออนไลน์  จนบางครั้งเรื่องราวที่นักข่าวพลเมืองนำเสนอขึ้นไปทำให้นักข่าวมืออาชีพต้องมาเกาะติดตามประเด็นนั้นไป สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดการทำงานเป็นเครือข่ายขึ้นมาเพื่อง่ายต่อการเข้าถึงแหล่งข่าว เพราะการทำงานเป็นเครือข่ายจะสามรถเข้าถึงแหล่งข่าวได้ง่ายและรวดเร็วกว่า โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งของบ้านเมือง ซึ่งนักข่าวมืออาชีพไม่สามารถเข้าไปทำข่าวได้ เนื่องจากความหวาดระแวงของชาวบ้านที่มีต่อสื่อ สื่อหวาดระแวงต่อความไม่ปลอดภัยของเลยตัวเองเลยทำให้การทำงานเป็นเครือข่ายมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการนำเสนอข่าวในสถานการณ์ความขัดแย้ง
          ถึงอย่างไรก็ตามแต่ โลกจะเปลี่ยนไปในทิศทางใด หนังสือพิมพ์จะเปลี่ยนรูปแบบในทิศทางไหน แต่ผมเชื่อว่าอุดมการณ์ในการทำงานของนักหนังสือพิมพ์ก็เหมือนเดิม

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แรงบันดาลใจที่รับจากการอ่านบทความของ กุหลาบ สายประดิษฐ์

“หลายคนมักคิดเห็นแก่ตัวในการกระทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยที่ไม่ได้ใส่ใจในวิธีการที่ได้ปรุงวิธีการลงไป”
คนทุกคนย่อมต้องการในความสำเร็จของตัวเอง แม้จะต้องผ่านอุปสรรคมากมายสักเท่าไหร่ก็ตาม หากเป็นความอยากสำเร็จที่ตนมานะพยายามไปได้โดยไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนถือว่าเป็นความสำเร็จที่สวยงาม แต่หากเป็นความกระหายความสำเร็จอันนี้แหละน่ากลัวที่สุด เพราะทุกอย่างที่ขวางหน้าเขานั้นเขาต้องผ่านมันไปให้ได้ไม่ว่าด้วยวิธีการใดก็ตามซึ่งจะทำให้ทุกอย่างที่เขาได้ข้ามผ่านพลันเดือดร้อนตามกันไปหมด
เราลองคิดดูซิว่าหากใครคนหนึ่งต้องการถีบตัวเองไปสู่ความสำเร็จ แต่เราดันเป็นจิ๊กซอตัวหนึ่งที่เขาต้องนำประติดประต่อเพื่อให้ได้รูปความสำเร็จนั้นสมบูรณ์เราจะทำอย่างไร?
คำถามนี้ผมตอบไม่ได้หรอกเพราะตอนนี้ผมคิดว่าผมยังไม่ได้เป็นจิ๊กซอของใครเพราะผมเป็นแค่นักศึกษาตัวเล็กๆคนหนึ่งที่ต้องการความสำเร็จในความฝันของตัวเองเช่นกัน หากคุณเคยเป็นจิ๊กซอของใครหรือใครเคยเป็นจิ๊กซอของคุณคุณอาจเข้าใจดีในจุดๆนั้นว่าเป็นเช่นไรและควรทำอย่างไรให้ผ่านสถานการณ์นั้นไปได้ด้วยดี
บทความนี้ผมไม่ต้องการเขียนที่จะกระแทกใครหรอกแต่เป็นบทความที่อาจารย์สั่งให้ผมไปอ่านบทความของกุหลาย สายประดิษฐ์ แล้วมาเขียนว่าได้รับแรงบันดาลใจอะไรบ้าง
ก่อนอื่นผมต้องขอประทานโทษเป็นอย่างยิ่ง ก่อนที่ผมจะมาอ่านบทความของกุหลาบ สายประดิษฐ์ นี้ ผมยังไม่รู้จักกุหลาย สายประดิษฐ์ เท่าใดนักยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเขาเป็นนักหนังสือพิมพ์ รู้เพียงว่าเขาเป็นนักเขียนคนหนึ่งซึ่งผมก็ไม่ได้สนใจในงานเขียนของเขา เพราะปัจจุบันมีหนังสือมากมายให้ผมได้เลือกอ่านตามใจชอบและไม่ชอบ พอตอนได้มาอ่านชีวประวัติและบทความของกุหลาบ สายประดิษฐ์แล้วเราสมควรอย่างยิ่งที่จะนำเอาเป็นตัวอย่างในการถีบตัวเองไปสู่ความสำเร็จในอุดมการณ์ที่ตัวเองอยากเป็น ด้วยวิธีการต่อสู้ที่บริสุทธิ์ไม่ว่าจะต้องผ่านอะไรก็ตามความอิสรภาพของหนังสือพิมพ์เป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้น
ผมเพิ่งรู้ว่ากุหลาย สายประดิษฐ์ เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่ต่อสู้เพื่ออิสรภาพของหนังสือพิมพ์มาโดยตลอด โดยยิ่งสังคมประชาธิปไตยแล้วยิ่งขาดหนังสือพิมพ์เสียมิได้เลยเพราะหนังสือพิมพ์เป็นช่องทางในการเป็นกระบอกเสียงให้กับประชาชนในการทำงานของรัฐบาลเพื่อประโยชน์ของประชาชนเองและเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ยังเป็นหลักประกันของประชาชนภายในตัวอีกด้วย โดยหลักคติข้อสำคัญที่
กุหลาย สายประดิษฐ์ ยึดถือมาโดยตลอดชีวิตของเขาก็คือคำกล่าวที่บอกว่า “ ความซื่อสัตย์คือความจริง ความจริงคือความซื่อสัตย์ ” ซึ่ง ณ ที่นี้หมายถึง “ เกียรติ ” นั่นเอง (การหนังสือพิมพ์ของฉัน
,2549:221)หากเรามีความซื่อสัตย์เป็นจุดยืนต่อวิชาชีพของเราแล้วความจริงย่อมปรากฏอย่างแน่นอนถึงแม้บางครั้งมันอาจจะขมขื่นบ้างก็ตาม
จากที่ได้อ่านบทความของกุหลาย สายประดิษฐ์ ทำให้ผมมีแรงบันดาลใจพอสมควรในเรื่องการเสาะแสวงหาความจริงในการทำข่าวโดยไม่มีอคติมาเกี่ยวข้องและการต่อสู้เพื่อความถูกต้องไม่ให้สังคมถูกครอบงำด้วยสิ่งที่ไม่สมควรจะเป็น และอีกอย่างที่สำคัญอีกประการหนึ่งนั้นก็คือการนำเสนอข่าวสารของผมนั้นต้องไม่นำเสนอไม่สู่ความขัดแย้งและความแตกแยกกันของคนในสังคม หากสิ่งที่ผมนำเสนอไปนั้นนำไปสู่ความขัดแย้งและความแตกแยกกันการสื่อสารของผมถือว่าเป็นสิ่งที่ล้มเหลวมากที่สุด โดยเปรียบให้สื่อสิ่งพิมพ์เป็นเป็นอาวุธสำคัญในการสื่อสารกับประชาชน หากสิ่งที่นำเสนอไปนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ความจริงอาจจะเป็นหอกร้ายมาทิ่มแทงได้ แต่หากนำเสนอในสิ่งที่เป็นความจริงก็จะเป็นดาบของอัศวินมาฟาดฟันผู้ไม่หวังดีได้อย่างยอดเยี่ยมด้วยเช่นกัน

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

จากหนัง The social network นักศึกษาได้แนวคิดอะไรบ้าง

          The social network เป็นหนังดีแห่งปีอีกเรื่องหนึ่งที่ได้สะท้อนความสามารถของเทคโนโลยียุคปัจจุบันที่ทรงมีอิทธิต่อคนเราเป็นอย่างมาก ในส่วนนี้เราประเมินจากตัวเราเองได้ตรวจสอบทุกย่างก้าวในชีวิตประจำวันของเราผมเชื่อเหลือเกินว่า social network อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่คนเราขาดเสียไม่ได้เลยทีเดียว
          ผมคิดว่า
social network เปรียบเสมือนยาเสพติดชนิดหนึ่งที่ไม่ผิดกฎหมายไม่ว่าจะเป็นใครสามารถเสพได้ตามอัธยาศัย  ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากกับคนยุคปัจจุบัน ประสิทธิภาพของมันสามารถทะลุทะลวงถึงต่อมจิตใต้สำนึกของเรา ให้สามารถเปิดเผยอะไรบางอย่างให้คนอื่นได้รู้จักเราในรูปแบบตัวอักษรที่มีความหมายอยู่ระหว่างบรรทัด อย่างเช่น Facebook จะว่าไปแล้วคนเรานี้ก็แปลกเหมือนกัน พอตอนอยู่ต่อหน้าไม่กล้าที่พูดเปิดเผยความจริง แต่พอตอนอยู่ในโลกของ social network ความจริงย่อมปรากฏทันตาเห็น ทั้งๆที่การพูดคุยอยู่ตรวหน้ามีความจริงใจมากกว่ากัน
             เราไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า  Facebook มีอิทธิพลอย่างมากกัยคนยุคปัจจุบัน ที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร หรือแชร์ข้อมูล ระบายความรู้สึกขอตนให้คนอื่นได้รับรู้(ทั้งโลก)ว่าเรากำลังคิดทำอะไรอยู่ ณ เวลานั้น แค่บนจอสี่เหลี่ยมเล็กๆเท่านั้นเอง หรือแม้กระทั่งการเรียนการสอนบางอย่างก็เปลี่ยนปลงไปจากเดิมเมื่อ Facebook เข้ามามีอิทธิพลต่อนักศึกษาและอาจารย์ สังเกตได้ง่ายๆเมื่อก่อนอาจารย์สั่งงานให้กับนักศึกษาไปทำแค่ในห้องเรียนเท่านั้นเอง แต่เดี๋ยวนี้โลกเปลี่ยนและหมุนเร็วขึ้นๆทุกวันเราไม่สามารถหยุดอยู่กับที่ได้จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตามโลกไปด้วยเพื่อความรวดเร็ว สะดวกสบายและทันสมัยกว่า โดยที่อาจารย์ได้สั่งงานให้กับนักศึกษาทาง Facebook ให้นักศึกษาไปทำเป็นการบ้าน ซึ่งเป็นการบูรณาการได้อย่างยอดเยี่ยมสำหรับการเรียนการสอนยุคใหม่ ถือได้ว่าสามารถ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนานักศึกษาได้เป็นอย่างดี
         
Facebook เป็นผลงานสร้างสรรค์โดย ซัคเกอร์เบิร์ก สามารถทำรายได้ถล่มทลายอย่างเหลือเชื่อจนทำให้ซุคเกอร์เบอร์กเป็นเศรษฐีที่มีอายุน้อยที่สุดในโลก กว่าจะมาเป็น Facebook ในวันนี้ได้ หนังThe social network ได้สอนให้เรารู้ถึงการทำงานเป็นทีม เราไม่สามารถประสบควมยิ่งใหญ่ได้ในระยะเวลาอันสั้นเพียงคนเดียวได้ เราต้องทำงานเป็นกลุ่ม เป็นเครือข่าย เพื่อความแข็งแรงและอนาคตที่ยั่งยืนอย่างไม่รู้จบ


















วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ทัศนคติในการนำสื่อใหม่มาใช้ในช่วงที่เกิดปัญหาวิกฤต

        มนุษย์เราเป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีวิวัฒนาการทางความคิดอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่แต่เฉพาะคิดอย่างเดียวเท่านั้นแต่มนุษย์ยังได้กระทำลองผิดลองถูกอยู่ทุกเวลาเช่นกันตามแต่เรื่องราวเนื้อหาที่ตัวเองสนใจตั้งแต่ยุคโบราณกาลมาแล้ว สังเกตได้จากมนุษย์ยุคหินอาจใช้หินเป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพเพื่อต่อสู้กับธรรมชาติถึงแม้ว่าเวลาได้ผ่านมาเนิ่นนานมนุษย์ก็ยังคิดค้นเครื่องมือเพื่อที่จะเอาชนะธรรมชาติอยู่ดี ด้วยการลองผิดลองถูกคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆเพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับตัวเองด้วยอำนาจของเงินทุน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือทางอุตสาหกรรม เครื่องมือทางการแพทย์ เครื่องมือทางการสื่อสาร ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมนุษย์มีการสื่อสารกัน
            การสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับมนุษย์ในการแสดงความคิดเห็นซึ่งกันและกันมีการเจรจาต่อรองอย่างมีเหตุและผล พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ จะว่าไปแล้วโลกของเรามีหลากหลายภาษา หลายวัฒนธรรม หลายชาติพันธุ์ สิ่งเหล่านี้ทำให้มนุษย์มีความคิดที่ไม่เหมือนกัน เลยบางครั้งส่งผลให้การสื่อสารไม่ค่อยสำฤทธิ์ผล หรือบางครั้งความคิดที่ไม่เหมือนกันนั้นนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้เหมือนกันหรือบางครั้งความคิดริเริ่มเหมือนกันแต่การสร้างสรรค์คนละแบบก็นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน อย่างเช่น สื่อออนไลน์ต่างๆที่เกลื่อนในปัจจุบัน อย่างเช่น Facebook Twitter ฯลฯ
            สื่อใหม่เหล่านี้เป็นสื่อออนไลน์ที่ในไซเบอร์สแปซ(Cyberspace) ของโลกออนไลน์ในยุคปัจจุบัน ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างอิสระโดยไม่จำเป็นต้องมีVISA ผ่านเข้าไปในประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องมีใครมาคอยกีดกันในการแสดงความคิดเห็นของเราในส่วนของพื้นที่สาธารณะตรงนี้
            ผมเชื่อเหลือเกินว่าสิ่งที่ถูกสร้างมาในโลกนี้ทุกอย่างเปรียบเสมือนดาบสองคมที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ในโลกออนไลน์ก็เหมือนกันที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ในยุคปัจจุบันกำแพงการสื่อสารได้พังลงแล้วทุกคนสามารถเข้าถึงแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมต่อกันได้อย่างง่ายดายบนโลกออนไลน์ ได้รู้จักกันโดยไม่จำเป็นต้องเห็นหน้าและรู้นิสัย จนก่อเกิดเป็นกลุ่มเพื่อนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน เช่นในFacebook มีกลุ่มคนรักรถโบราณ กลุ่มคนรักท้องฟ้า ฯลฯ ช่องทางนี้แหละเป็นสิ่งสำคัญในการรวมพลหมู่คนเยอะๆได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องสิ้นเปลืองเวลาและเงินทุน เช่น การโค่นล้มกัดดาฟีในประเทศอียิปต์ที่มีการเอาเปรียบประชาชนมาอย่างยาวนาน ประชาชนก็ได้ใช้Facebookในการติดต่อสื่อสารรวมพลังมวลชนคนทั้งประเทศให้ลุกขึ้นมาต่อสู้กับรัฐบาลที่ไม่มีความเป็นธรรมจนเกิดเป็นผลสำเร็จ มาถึงบ้านเราตอนนี้เกิดวิกฤตธรรมชาติลงโทษ น้ำท่วมในภาคกลางหลายคนได้มีการสร้างกลุ่มในFacebookขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย เช่นกลุ่มนักศึกษาได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อเป็นกระบอกเสียงให้กับประชาชนที่เดือดร้อนจากอุทกภัยให้คนข้างนอกพื้นที่เป็นช่องทางหนึ่งในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและช่วยเหลือคนในพื้นที่ต่อไป
           ผมว่าถึงเวลาแล้วแหละที่เราจะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสโดยใช้พลังของสื่อใหม่หรือว่าสังคมออนไลน์เป็นช่องทางบอกกล่าวเรื่องราวของคนในพื้นที่ 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ในด้านที่สร้างสรรค์ให้โด่งดัง ที่ไม่ใช่เสียงของระเบิดและกระสุนปืน ไม่ว่าจะเป็นประเพณีวัฒนธรรม ศาสนา ภาษา สถาปัตยกรรมฯลฯ ให้คนข้างนอกได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเหล่านี้ซึ่งไม่ค่อยมีให้เห็นนักจากสื่อกระแสหลัก
          หากเราช่วยกันนำเสนอเรื่องราวแต่สิ่งดีๆอาจปรับเปลี่ยนทัศนคติให้กับคนข้างนอกพื้นที่จากที่มีทัศนคติไม่ดีกับพื้นที่3จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้มีทัศนคติที่ดีได้ เพราะสื่อออนไลน์มีพลังอย่างไม่น่าเชื่อที่จะให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง