หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2555

สื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อการสร้างภาพลักษณ์ทางเพศ

ในปัจจุบันสื่อถือว่าเป็นสิ่งที่ง่ายต่อการเข้าถึงได้ไม่ว่าจะเป็น หนังสือ โทรทัศน์ เพลง หรือสื่อออนไลน์ โดยสื่อเป็นสิ่งที่สะท้อนคุณค่าและอุดมคติเกี่ยวกับเพศ สะท้อนให้เห็นภาพของผู้หญิงผู้ชายตลอดจนความสัมพันธ์ของทั้งสองเพศตามแบบอุดมคติ และทำให้ผู้รับสารหลายคนเข้าใจว่าผู้หญิงและผู้ชายจะต้องเป็นแบบนั้นตามที่สื่อได้กำหนดไว้
                ในหัวข้อนี้ผมขออธิบายโดยยกตัวอย่างกรณีศึกษาของสื่อโฆษณา ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างอัต-ลักษณ์ทางเพศ โฆษณาเป็นสิ่งที่คนดูสื่อต้องดู จะอยากดูหรือไม่อยากดูก็ตาม เพราะโฆษณาเป็นหลอดเลือดสำคัญในการหล่อเลี้ยงองค์กรให้อยู่รอด โฆษณาเป็นสิ่งที่นักการตลาดเป็นคิดขึ้นเพื่อขายสินค้า โดยสร้างกุล-ยุทธ์ทางการตลาดให้คนในสังคมกระตุ้นเกิดการตระหนักว่าสินค้าที่ตนขายนั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตและเป็นสิ่งที่สังคมให้ความสำคัญ อีกทั้งเป็นสิ่งที่กำหนดอัตลักษณ์ทางเพศให้ผู้เสพสื่อเข้าใจว่าจะต้องเป็นอย่างนี้ถึงจะสวยถึงจะดูดี เช่น โฆษณาเนเจอร์กิฟ เราจะสังเกตเห็นได้ว่า เป็นโฆษณาที่นักการตลาดสร้างอัตลักษณ์ของผู้หญิงให้ผู้ชมเข้าใจว่าผู้หญิงที่Perfectนั้นต้องสวยและดูดี หากหุ่นไม่ดีก็จะไม่สามารถดึงดูดเพศตรงข้ามให้สนใจได้ หากเป็นผู้ชายก็ต้องเป็นคนที่Smart มีกล้ามเนื้อเป็นมัดๆ ดูได้จากโฆษณาขายกางเกงในหรือโฆษณาขายน้ำหอม สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ตอกย้ำคนดูทุกวัน เป็นการสร้างภาพตัวแทนว่าผู้หญิงหรือผู้ชายต้องเป็นอย่างนั้นตามที่สื่อได้กำหนดไว้
                ในความเป็นจริงแล้วไม่เห็นจำเป็นต้องสวยหล่อหรือหน้าตาดีก็ได้แต่อยู่ที่มารยาท การวางตัวในสังคมหรืออยู่ด้วยกันกับคนในสังคมให้มีความสุขมากกว่า

อัตลักษณ์ทางเพศคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม

อัตลักษณ์ทางเพศคือ การที่เรารับรู้ว่าเราว่าเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ซึ่งอัตลักษณ์ทางเพศนี้สามรถกำหนดบทบาทให้แก่เรา ทำให้เรารู้ว่าเราควรจะดำเนินชีวิตและดำเนินความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆรอบตัวเราอย่างไร สำหรับบางคนแล้วอัตลักษณ์ทางเพศไม่ใช่เป็นสิ่งติดตัวมาตั้งแต่เกิดเท่านั้นแต่อัตลักษณ์ทางเพศนั้นถูกแวดล้อมมาจากโครงสร้างทางสังคม ครอบครัว หรือสื่อต่างๆคอยตอดย้ำตลอดเวลา เช่นผู้ชายเป็นคนที่ความแข็งแรง มีความเป็นผู้นำ ส่วนผู้หญิงต้องเป็นคนที่มีความละเมียดละไมอ่อนน้อมถ่อมตนทำตัวเป็นเป็นแม่ศรีเรียน ส่วนเพศที่สามนั้นหากเรามองในแง่ของการนำเสนอผ่านสื่อต่างๆ เพศที่สามนั้นถือได้ว่าเป็นที่ยอมรับพอสมควรในสังคมยุคปัจจุบัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะยกย่องให้เป็นตัวเด่นในสังคม เพราะยังมีกำแพงของโครงสร้างทางสังคมแบบเก่าๆขวางกั้นอยู่หรือกลุ่มคนบางกลุ่มที่ไม่ยอมรับเพศที่สามอยู่
                แต่อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าอัตลักษณ์ทางเพศที่ผิดแปลกไปจากต้นฉบับเดิมคือ หญิงและชายจะอยู่ด้วยกันไม่ได้ เพราะสังคมยุคปัจจุบันเป็นยุคที่ค่อนข้างจะเปิดกว้างในเรื่องสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของบุคคลต่างหากไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนก็สามารถกระทำได้ อีกทั้งในยุคปัจจุบันเป็นยุคที่การสื่อสารไร้พรมแดนเกิดการหลั่งไหลเข้ามาของวัฒนธรรมอื่นเข้ามาอย่างมากมาย ส่งผลต่อวิถีชีวิต วิธีคิดของคนตามกันไปทำให้เกิดการคล้อยตามวัฒนธรรมอื่นอย่างง่ายดายโดยผ่านการตอกย้ำจากสื่อต่างๆทุกวัน
                อัตลักษณ์ทางเพศ เป็นสิ่งสำคัญต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมเพราะแต่ละวัฒนธรรมนั้นให้ความสำคัญเกี่ยวกับเพศแตกต่างกันเช่นวัฒนธรรมไทย ผู้หญิงต้องเป็นกุลศตรีแม่ศรีเรือน ส่วนผู้ชายออกไปทำงานนอกบ้านหาเลี้ยงครอบครัว วัฒนธรรมอิสลามผู้หญิงต้องใส่ผ้าคลุมศรีษะหรือปกปิดทุกส่วนให้มิดชิดตามที่ศาสนาได้กำหนดเอาไว้ ส่วนผู้ชายมีหน้าที่หาเลี้ยงครอบครัว ในศาสนาอิสลามไม่มีคำว่าเพศที่สาม หากใครเป็นเพศที่สามถือว่าเป็นบาปเพราะว่าไม่มีความภาคภูมิใจในสิ่งที่พระเจ้าให้มา ส่วนวัฒนธรรมตะวันตกอาจมองว่าทุกคนมีสิทธิเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นทั้งชายหญิงเพศที่สาม
                การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมนั้นเป็นการยอมรับตัวตนของคนอื่นที่ไม่เหมือนกับเรา เราต้องเข้าใจว่าคนเราต่างก็มีวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง ไม่ใช่วัฒนธรรมของเราของเราอย่างเดียวที่ดีงาม พหุวัฒนธรรมอาจจะล้มเหลวได้หากเราไม่เข้าใจหรือเรามีภาพที่ผิดเบี้ยวเกี่ยวกับผู้อื่น

การบริหารองค์กรในรูปแบเครือข่ายมีความสำคัญอย่างไรกับสถานการณ์ความขัดแย้ง

นายมูฮำหมัดอายุบ ปาทาน บรรณาธิการอวุโส DeepSouthWatch กล่าวว่า ผมว่ามันจำเป็นเพราะ ในสถานการณ์คามขัดแย้งในการลงพื้นที่แต่ละครั้งมันต้องอาศัยเครือข่ายเพราะว่าในปัจจุบันนี้มันไม่ใช่เป็นการทำงานแบบเก่า ต้องอาศัยความรอบด้าน ต้องตรวจสอบข้อมูลในเรื่องความถูกต้องมากยิ่งขึ้น เราไม่สามารถทำงานในด้านเดียวได้เพราะว่าการทำงานหรือการหาข้อมูลในด้านเดียวมันจะเพิ่มความรุนแรงขึ้นไปอีก แต่หากเรามีเครือข่ายมันจะช่วยได้ในเชิงการตรวจสอบข้อมูลได้ในการลงพื้นที่ไปหาแหล่งข่าวที่เราสามารถไปพูดคุยกับคนในพื้นที่ได้เพราะเขาไว้ใจเรา เช่น เครือข่ายเยียวยา เครือข่ายครูสอนศาสนา เป็นต้น ส่วนใหญ่เครือข่ายในสถานการณ์ความขัดแย้งเครือข่ายในภาครัฐเราไม่ค่อยกังวลเพราะเราหาข้อมูลได้แต่เครือข่ายในหมู่ประชาชนเราหาข้อมูลยาก การที่เรามีเครือข่ายแบบนี้เป็นการที่ทำให้เราสามารถมีข้อมูลข่าวสารที่สมดุลกันและอีกอย่างจะเป็นการดัลเบิ้ลเช็กให้เราด้วย

                ในปัจจุบันสื่อในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ถูกปรับให้ทำงานเป็นเครือข่ายมากขึ้น เพราะหากไม่ปรับตัวเองมันจะทำงานยากในสถานการณ์ความขัดแย้ง จะสังเกตเห็นได้ว่าปัจจุบันจะมีเครือข่ายเพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น เครือข่ายช่างภาพชายแดนใต้ เครือข่ายสื่อทางเลือก การทำงานเป็นเครือข่ายไม่ใช่เฉพาะในสถานการณ์ความขัดแย้งเพื่อให้ได้ข้อมูลข่าวสารอย่างเดียว มันสามารถทำให้ทุกคนมีพื้นที่ในการเรียนรู้ด้วย ในขณะเดียวกันหากไม่มีเครือข่ายจะเป็นการยากในการทำงาน และอีกอย่างในการทำงานเครือข่ายจะเป็นการผ่อนให้สื่อมวลชนสามารถที่จะตรวจสอบกันเองได้ด้วย โดยจะมีเครือข่ายคอยแจ้งเตือนว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง ในระบบเครือข่ายมันไม่ใช่เฉพาะแค่บอกว่าเราทำงานเป็นเครือข่าย ในกลุ่มมันเองก็มีกลุ่มในโซเชียลแน็ตเวิร์คอันนี้ก็เป็นเครือข่ายในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเหมือนกัน  ว่าคนไหนทำข่าวเรื่อง ประเด็นอะไร อันนี้คือข้อดีทำให้ทุกคนได้มีสนามของตัวเองในการที่จะเรียนรู้ จากอดีตที่สื่อเคยทำงานเป็นองค์กรเดี่ยวมันไม่ค่อยปรับตัวในลักษณะโซเชี่ยวเน็ตเวิร์ค  ยิ่งสื่อทำงานเป็นเครือข่ายมากขึ้นเท่าไหร่การเชื่อมโยงประเด็นก็จะยิ่งแตกเข้าไปเรื่อยๆและจะเป็นประโยชน์ในการขยายข่าวได้ด้วย
                จริงๆการทำงานแบบเครือข่ายสะท้อนให้เห็นชัดว่าการทำงานแบบเครือข่ายมันสำคัญ คือ 1.มันสะท้อนตั้งแต่ที่มีกาก่อตั้งศูนย์ข่าวอิสรามันจะเห็นชัดว่ามันก็ปรับตัว แม้กระทั่งศูนย์เฝ้าระวังฯเองหากไม่ไม่มีเครือข่ายในตัวมันเองก็จะทำงานไม่ได้ในพื้นที่แบบนี้ เพราะคนมีความระแวงกัน ประชาชนระแวงรัฐ รัฐระแวงประชาชน และสื่อมวลชนเองประชาชนก็ไม่ค่อยไว้ใจโดยถูกเครมมาอยู่กับฝ่ายรัฐเสียแล้ว หากไม่มีเครือข่ายจะเป็นการยากมากที่จะลงไปทำงาน
 
2.สามารถประเมินสถานการณ์ได้เพราะเครือข่ายมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอยู่ตลอดเวลา ว่าข้อมูลต่างๆเป็นอย่างไรจะง่ายในการตรวจสอบ แต่การทำงานเป็นระบบแบบนี้จะต้องมีความอดทนในการปรับตัวจากที่เคยทำงานแบบเดี่ยว  3.สามารถกระจายข่าวสารได้เร็ว โดยไม่สนใจสื่อกระแสหลักจะเสนอหรือไม่เสนอ