หน้าเว็บ

วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554


                                 จดหมายถึง "ศรีบูรพา"
          ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันโลกได้มีการปรับเปลี่ยนอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภูมิศาสตร์ สภาพแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ แม้กระทั้งมนุษย์เราก็ได้ปรับเปลี่ยนไปตามวงโคจรของโลกเช่นกัน เพื่อจะปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่เปลี่ยนไปเพื่อความอยู่รอดของตัวเองและเผ่าพันธุ์ หลายคราสิ่งเหล่านี้ทำให้มนุษย์เห็นแก่ตัว เห็นแก่พวกพ้อง และเห็นแก่คนรู้จัก ถึงอย่างไรก็ตามโลกนี้ยังไม่เคยสิ้นคนดีสักทีไม่ว่ายุคสมัยใดก็ตาม
          “ ศรีบูรพา ” เป็นนามปากกาของกุหลาบ สายประดิษฐ์ เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่ประกอบตามหลักวิชาชีพ ที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยให้หนังสือพิมพ์มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก โดยยิ่งสังคมประชาธิปไตยแล้วช่องทางในการแสดงความคิดเห็นคงจะขาดเสียมิได้เลย เพราะเป็นอาวุธสำคัญของประชาชนในการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของตัวเอง อย่างไรก็ตามแต่สิทธิเสรีภาพไม่ได้หมายความว่าเราจะทำอะไรกับใครก็ได้ทุกสิ่งทุกอย่างต้องอยู่บนศีลธรรมในบ้านเมืองนั้นด้วย มิฉะนั้นแล้งสิทธิเสรีภาพก็ไม่ต่างกับผู้ร้ายที่คอยจ้องทำร้ายผู้อื่นเมื่อมีโอกาส
          ใน
1 ศตวรรษที่ผ่านมาถือว่าเป็นหลักประกันเสรีภาพของประชาชนในการแสดงออกความคิดเห็น เพราะเสรีภาพเป็นหัวใจสำคัญขอหนังสือพิมพ์ “ หนังสือพิมพ์อาจมีหลายอย่าง แต่สิ่งที่ข้าพเจ้า (ศรีบูรพา) คำนึงมากที่สุดคือความเป็นอิสระ เพราะถ้าขาดสิ่งนี้เสียแล้ว หนังสือพิมพ์ก็เป็นหนังสือพิมพ์ไปไม่ได้ หรืออย่างน้อยก็เป็นหนังสือพิมพ์ที่ดีไม่ได้ ” ซึ่งในสมัยนี้หนังสือพิมพ์ถือว่าเป็นอาวุธสำคัญของประชาชนในการแสดงออกความคิดเห็น อันประกอบไปด้วยหลักฐานและเหตุผล โดยที่หนังสือพิมพ์ไม่ต้องสนใจใครทั้งนั้น สนใจแต่เพียงหน้าที่ของตนเองก็พอ ในที่นี้หมายถึงต้องไม่เสนอข่าวหรือความคิดเห็นที่เป็นอคติ ในสมัย 1 ศตวรรษที่ผ่านมาถือได้ว่าหนังสือพิมพ์เป็นช่องทางเดียวที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ในปัจจุบันไม่ได้เป็นอย่างนั้นแล้ว ช่องทางในการสื่อสารของประชาชนไม่ได้มีแค่หนังสือพิมพ์อย่างเดียวเท่านั้น แต่ช่องทางในการสื่อสารของประชาชนมีมากมายเหลือเกิน มากมายจนบางครั้งผู้ใช้ไม่ได้คิดถึงสารที่ส่งออกไปว่ากระทบต่อบุคคลอื่นมากน้อยเพียงใด ไม่ว่าจะเป็น Facebook Twitter GooglePlus Blog เป็นต้น  
          หากท่านศรีบูรพาตื่นขึ้นมาในตอนนี้คงประหลาดใจใช่ย่อยกับสังคมที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะสังคมออนไลน์(อินเตอร์เน็ต)มีเวลาเป็นแค่วินาทีในการสื่อสารเท่านั้นเอง ไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของโลกก็ยังสามารถสื่อสารกันได้อย่างสบาย ทำเอาโลกทั้งโลกแคบแค่นิดเดียว แคบแค่เพียงหน้าจอสี่เหลี่ยมของคอมพิวเตอร์เท่านั้นเอง แม้กระทั่งเด็กตัวเล็กๆก็ยังใช้สื่อออนไลน์กันทั่วไป ในต่างประเทศ(อียิปต์) สื่อออนไลน์อย่าง Facebook ทรงมีพลังมากในการล้มผู้นำที่ไม่เป็นธรรมได้ ด้วยการใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารกับประชาชนทั่วประเทศได้ออกมาเรียกร้องใช้สิทธิของตัวเองในการขับไล่ผู้นำที่ไม่เป็นธรรมออกจากประเทศ ซึ่งได้รับประสิทธิผลเป็นอย่างมาก อีกอย่างที่ท่านศรีบูรพาคงประหลาดใจ คือ ในสมัยนี้หนังสือพิมพ์ไม่ได้เป็นแค่กระดาษอย่างเดียวเสียแล้ว แต่ได้ปรับเปลี่ยนเป็นหนังสือพิมพ์ออนไลน์ให้เข้ากับยุคสมัย ที่ประชานมีสิทธิ์เลือกในการเสพสื่อ เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง โดยที่ทุกคนบนโลกนี้สามารถอ่านตอนไหนก็ได้ตลอด 24 ชั่วโมง และเปิดโอกาสให้กับประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงออกความคิดเห็นต่อสิ่งนั้นๆได้หรือที่เรียกกันว่าการสื่อสารสองทางทั้งคนส่งสารและคนรับสารสามารถโต้ตอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ ซึ่งแตกต่างจากเมื่อก่อนที่เป็นแค่การสื่อสารทางเดียวเท่านั้น โดยที่ผู้ส่งสารสามารถส่งสารได้เพียงฝ่ายเดียว ผู้รับสารไม่สารถที่จะโต้ตอบอะไรได้ ในส่วนนี้อาจจะทำให้การนำเสนอข้อมูลข่าวสารผิดเพี้ยนจากความจริงหรือข้อมูลไม่ครบถ้วนก็เป็นได้
          ไม่ได้มีเพียงเท่านี้ที่สังคมสื่อมวลชนได้เปลี่ยนไป เมื่อก่อนเราอาจเห็นนักข่าวมืออาชีพทำงานหาข้อมูลข่าวสารเองและลงไปเผยแพร่ในสื่อกระแสหลักซึ่งบางครั้งข้อมูลบางอย่างไม่เป็นความจริงที่ถูกถ้วนเลยทำให้เกิดนักข่าวพลเมืองขึ้นอย่างมากมาย เพื่อช่วยในการบอกเล่าข่าวสารถึงความเป็นไปในสิ่งที่เกิดขึ้น ณ เวลา สถานที่นั้นๆ และนำไปเผยแพร่บนสื่อออนไลน์  จนบางครั้งเรื่องราวที่นักข่าวพลเมืองนำเสนอขึ้นไปทำให้นักข่าวมืออาชีพต้องมาเกาะติดตามประเด็นนั้นไป สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดการทำงานเป็นเครือข่ายขึ้นมาเพื่อง่ายต่อการเข้าถึงแหล่งข่าว เพราะการทำงานเป็นเครือข่ายจะสามรถเข้าถึงแหล่งข่าวได้ง่ายและรวดเร็วกว่า โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งของบ้านเมือง ซึ่งนักข่าวมืออาชีพไม่สามารถเข้าไปทำข่าวได้ เนื่องจากความหวาดระแวงของชาวบ้านที่มีต่อสื่อ สื่อหวาดระแวงต่อความไม่ปลอดภัยของเลยตัวเองเลยทำให้การทำงานเป็นเครือข่ายมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการนำเสนอข่าวในสถานการณ์ความขัดแย้ง
          ถึงอย่างไรก็ตามแต่ โลกจะเปลี่ยนไปในทิศทางใด หนังสือพิมพ์จะเปลี่ยนรูปแบบในทิศทางไหน แต่ผมเชื่อว่าอุดมการณ์ในการทำงานของนักหนังสือพิมพ์ก็เหมือนเดิม

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แรงบันดาลใจที่รับจากการอ่านบทความของ กุหลาบ สายประดิษฐ์

“หลายคนมักคิดเห็นแก่ตัวในการกระทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยที่ไม่ได้ใส่ใจในวิธีการที่ได้ปรุงวิธีการลงไป”
คนทุกคนย่อมต้องการในความสำเร็จของตัวเอง แม้จะต้องผ่านอุปสรรคมากมายสักเท่าไหร่ก็ตาม หากเป็นความอยากสำเร็จที่ตนมานะพยายามไปได้โดยไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนถือว่าเป็นความสำเร็จที่สวยงาม แต่หากเป็นความกระหายความสำเร็จอันนี้แหละน่ากลัวที่สุด เพราะทุกอย่างที่ขวางหน้าเขานั้นเขาต้องผ่านมันไปให้ได้ไม่ว่าด้วยวิธีการใดก็ตามซึ่งจะทำให้ทุกอย่างที่เขาได้ข้ามผ่านพลันเดือดร้อนตามกันไปหมด
เราลองคิดดูซิว่าหากใครคนหนึ่งต้องการถีบตัวเองไปสู่ความสำเร็จ แต่เราดันเป็นจิ๊กซอตัวหนึ่งที่เขาต้องนำประติดประต่อเพื่อให้ได้รูปความสำเร็จนั้นสมบูรณ์เราจะทำอย่างไร?
คำถามนี้ผมตอบไม่ได้หรอกเพราะตอนนี้ผมคิดว่าผมยังไม่ได้เป็นจิ๊กซอของใครเพราะผมเป็นแค่นักศึกษาตัวเล็กๆคนหนึ่งที่ต้องการความสำเร็จในความฝันของตัวเองเช่นกัน หากคุณเคยเป็นจิ๊กซอของใครหรือใครเคยเป็นจิ๊กซอของคุณคุณอาจเข้าใจดีในจุดๆนั้นว่าเป็นเช่นไรและควรทำอย่างไรให้ผ่านสถานการณ์นั้นไปได้ด้วยดี
บทความนี้ผมไม่ต้องการเขียนที่จะกระแทกใครหรอกแต่เป็นบทความที่อาจารย์สั่งให้ผมไปอ่านบทความของกุหลาย สายประดิษฐ์ แล้วมาเขียนว่าได้รับแรงบันดาลใจอะไรบ้าง
ก่อนอื่นผมต้องขอประทานโทษเป็นอย่างยิ่ง ก่อนที่ผมจะมาอ่านบทความของกุหลาบ สายประดิษฐ์ นี้ ผมยังไม่รู้จักกุหลาย สายประดิษฐ์ เท่าใดนักยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเขาเป็นนักหนังสือพิมพ์ รู้เพียงว่าเขาเป็นนักเขียนคนหนึ่งซึ่งผมก็ไม่ได้สนใจในงานเขียนของเขา เพราะปัจจุบันมีหนังสือมากมายให้ผมได้เลือกอ่านตามใจชอบและไม่ชอบ พอตอนได้มาอ่านชีวประวัติและบทความของกุหลาบ สายประดิษฐ์แล้วเราสมควรอย่างยิ่งที่จะนำเอาเป็นตัวอย่างในการถีบตัวเองไปสู่ความสำเร็จในอุดมการณ์ที่ตัวเองอยากเป็น ด้วยวิธีการต่อสู้ที่บริสุทธิ์ไม่ว่าจะต้องผ่านอะไรก็ตามความอิสรภาพของหนังสือพิมพ์เป็นสิ่งที่จะต้องเกิดขึ้น
ผมเพิ่งรู้ว่ากุหลาย สายประดิษฐ์ เป็นนักหนังสือพิมพ์ที่ต่อสู้เพื่ออิสรภาพของหนังสือพิมพ์มาโดยตลอด โดยยิ่งสังคมประชาธิปไตยแล้วยิ่งขาดหนังสือพิมพ์เสียมิได้เลยเพราะหนังสือพิมพ์เป็นช่องทางในการเป็นกระบอกเสียงให้กับประชาชนในการทำงานของรัฐบาลเพื่อประโยชน์ของประชาชนเองและเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ยังเป็นหลักประกันของประชาชนภายในตัวอีกด้วย โดยหลักคติข้อสำคัญที่
กุหลาย สายประดิษฐ์ ยึดถือมาโดยตลอดชีวิตของเขาก็คือคำกล่าวที่บอกว่า “ ความซื่อสัตย์คือความจริง ความจริงคือความซื่อสัตย์ ” ซึ่ง ณ ที่นี้หมายถึง “ เกียรติ ” นั่นเอง (การหนังสือพิมพ์ของฉัน
,2549:221)หากเรามีความซื่อสัตย์เป็นจุดยืนต่อวิชาชีพของเราแล้วความจริงย่อมปรากฏอย่างแน่นอนถึงแม้บางครั้งมันอาจจะขมขื่นบ้างก็ตาม
จากที่ได้อ่านบทความของกุหลาย สายประดิษฐ์ ทำให้ผมมีแรงบันดาลใจพอสมควรในเรื่องการเสาะแสวงหาความจริงในการทำข่าวโดยไม่มีอคติมาเกี่ยวข้องและการต่อสู้เพื่อความถูกต้องไม่ให้สังคมถูกครอบงำด้วยสิ่งที่ไม่สมควรจะเป็น และอีกอย่างที่สำคัญอีกประการหนึ่งนั้นก็คือการนำเสนอข่าวสารของผมนั้นต้องไม่นำเสนอไม่สู่ความขัดแย้งและความแตกแยกกันของคนในสังคม หากสิ่งที่ผมนำเสนอไปนั้นนำไปสู่ความขัดแย้งและความแตกแยกกันการสื่อสารของผมถือว่าเป็นสิ่งที่ล้มเหลวมากที่สุด โดยเปรียบให้สื่อสิ่งพิมพ์เป็นเป็นอาวุธสำคัญในการสื่อสารกับประชาชน หากสิ่งที่นำเสนอไปนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ความจริงอาจจะเป็นหอกร้ายมาทิ่มแทงได้ แต่หากนำเสนอในสิ่งที่เป็นความจริงก็จะเป็นดาบของอัศวินมาฟาดฟันผู้ไม่หวังดีได้อย่างยอดเยี่ยมด้วยเช่นกัน

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

จากหนัง The social network นักศึกษาได้แนวคิดอะไรบ้าง

          The social network เป็นหนังดีแห่งปีอีกเรื่องหนึ่งที่ได้สะท้อนความสามารถของเทคโนโลยียุคปัจจุบันที่ทรงมีอิทธิต่อคนเราเป็นอย่างมาก ในส่วนนี้เราประเมินจากตัวเราเองได้ตรวจสอบทุกย่างก้าวในชีวิตประจำวันของเราผมเชื่อเหลือเกินว่า social network อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่คนเราขาดเสียไม่ได้เลยทีเดียว
          ผมคิดว่า
social network เปรียบเสมือนยาเสพติดชนิดหนึ่งที่ไม่ผิดกฎหมายไม่ว่าจะเป็นใครสามารถเสพได้ตามอัธยาศัย  ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากกับคนยุคปัจจุบัน ประสิทธิภาพของมันสามารถทะลุทะลวงถึงต่อมจิตใต้สำนึกของเรา ให้สามารถเปิดเผยอะไรบางอย่างให้คนอื่นได้รู้จักเราในรูปแบบตัวอักษรที่มีความหมายอยู่ระหว่างบรรทัด อย่างเช่น Facebook จะว่าไปแล้วคนเรานี้ก็แปลกเหมือนกัน พอตอนอยู่ต่อหน้าไม่กล้าที่พูดเปิดเผยความจริง แต่พอตอนอยู่ในโลกของ social network ความจริงย่อมปรากฏทันตาเห็น ทั้งๆที่การพูดคุยอยู่ตรวหน้ามีความจริงใจมากกว่ากัน
             เราไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า  Facebook มีอิทธิพลอย่างมากกัยคนยุคปัจจุบัน ที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร หรือแชร์ข้อมูล ระบายความรู้สึกขอตนให้คนอื่นได้รับรู้(ทั้งโลก)ว่าเรากำลังคิดทำอะไรอยู่ ณ เวลานั้น แค่บนจอสี่เหลี่ยมเล็กๆเท่านั้นเอง หรือแม้กระทั่งการเรียนการสอนบางอย่างก็เปลี่ยนปลงไปจากเดิมเมื่อ Facebook เข้ามามีอิทธิพลต่อนักศึกษาและอาจารย์ สังเกตได้ง่ายๆเมื่อก่อนอาจารย์สั่งงานให้กับนักศึกษาไปทำแค่ในห้องเรียนเท่านั้นเอง แต่เดี๋ยวนี้โลกเปลี่ยนและหมุนเร็วขึ้นๆทุกวันเราไม่สามารถหยุดอยู่กับที่ได้จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตามโลกไปด้วยเพื่อความรวดเร็ว สะดวกสบายและทันสมัยกว่า โดยที่อาจารย์ได้สั่งงานให้กับนักศึกษาทาง Facebook ให้นักศึกษาไปทำเป็นการบ้าน ซึ่งเป็นการบูรณาการได้อย่างยอดเยี่ยมสำหรับการเรียนการสอนยุคใหม่ ถือได้ว่าสามารถ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนานักศึกษาได้เป็นอย่างดี
         
Facebook เป็นผลงานสร้างสรรค์โดย ซัคเกอร์เบิร์ก สามารถทำรายได้ถล่มทลายอย่างเหลือเชื่อจนทำให้ซุคเกอร์เบอร์กเป็นเศรษฐีที่มีอายุน้อยที่สุดในโลก กว่าจะมาเป็น Facebook ในวันนี้ได้ หนังThe social network ได้สอนให้เรารู้ถึงการทำงานเป็นทีม เราไม่สามารถประสบควมยิ่งใหญ่ได้ในระยะเวลาอันสั้นเพียงคนเดียวได้ เราต้องทำงานเป็นกลุ่ม เป็นเครือข่าย เพื่อความแข็งแรงและอนาคตที่ยั่งยืนอย่างไม่รู้จบ


















วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ทัศนคติในการนำสื่อใหม่มาใช้ในช่วงที่เกิดปัญหาวิกฤต

        มนุษย์เราเป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีวิวัฒนาการทางความคิดอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่แต่เฉพาะคิดอย่างเดียวเท่านั้นแต่มนุษย์ยังได้กระทำลองผิดลองถูกอยู่ทุกเวลาเช่นกันตามแต่เรื่องราวเนื้อหาที่ตัวเองสนใจตั้งแต่ยุคโบราณกาลมาแล้ว สังเกตได้จากมนุษย์ยุคหินอาจใช้หินเป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพเพื่อต่อสู้กับธรรมชาติถึงแม้ว่าเวลาได้ผ่านมาเนิ่นนานมนุษย์ก็ยังคิดค้นเครื่องมือเพื่อที่จะเอาชนะธรรมชาติอยู่ดี ด้วยการลองผิดลองถูกคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆเพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้กับตัวเองด้วยอำนาจของเงินทุน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือทางอุตสาหกรรม เครื่องมือทางการแพทย์ เครื่องมือทางการสื่อสาร ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมนุษย์มีการสื่อสารกัน
            การสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับมนุษย์ในการแสดงความคิดเห็นซึ่งกันและกันมีการเจรจาต่อรองอย่างมีเหตุและผล พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ จะว่าไปแล้วโลกของเรามีหลากหลายภาษา หลายวัฒนธรรม หลายชาติพันธุ์ สิ่งเหล่านี้ทำให้มนุษย์มีความคิดที่ไม่เหมือนกัน เลยบางครั้งส่งผลให้การสื่อสารไม่ค่อยสำฤทธิ์ผล หรือบางครั้งความคิดที่ไม่เหมือนกันนั้นนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้เหมือนกันหรือบางครั้งความคิดริเริ่มเหมือนกันแต่การสร้างสรรค์คนละแบบก็นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน อย่างเช่น สื่อออนไลน์ต่างๆที่เกลื่อนในปัจจุบัน อย่างเช่น Facebook Twitter ฯลฯ
            สื่อใหม่เหล่านี้เป็นสื่อออนไลน์ที่ในไซเบอร์สแปซ(Cyberspace) ของโลกออนไลน์ในยุคปัจจุบัน ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างอิสระโดยไม่จำเป็นต้องมีVISA ผ่านเข้าไปในประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องมีใครมาคอยกีดกันในการแสดงความคิดเห็นของเราในส่วนของพื้นที่สาธารณะตรงนี้
            ผมเชื่อเหลือเกินว่าสิ่งที่ถูกสร้างมาในโลกนี้ทุกอย่างเปรียบเสมือนดาบสองคมที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ในโลกออนไลน์ก็เหมือนกันที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ในยุคปัจจุบันกำแพงการสื่อสารได้พังลงแล้วทุกคนสามารถเข้าถึงแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมต่อกันได้อย่างง่ายดายบนโลกออนไลน์ ได้รู้จักกันโดยไม่จำเป็นต้องเห็นหน้าและรู้นิสัย จนก่อเกิดเป็นกลุ่มเพื่อนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน เช่นในFacebook มีกลุ่มคนรักรถโบราณ กลุ่มคนรักท้องฟ้า ฯลฯ ช่องทางนี้แหละเป็นสิ่งสำคัญในการรวมพลหมู่คนเยอะๆได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องสิ้นเปลืองเวลาและเงินทุน เช่น การโค่นล้มกัดดาฟีในประเทศอียิปต์ที่มีการเอาเปรียบประชาชนมาอย่างยาวนาน ประชาชนก็ได้ใช้Facebookในการติดต่อสื่อสารรวมพลังมวลชนคนทั้งประเทศให้ลุกขึ้นมาต่อสู้กับรัฐบาลที่ไม่มีความเป็นธรรมจนเกิดเป็นผลสำเร็จ มาถึงบ้านเราตอนนี้เกิดวิกฤตธรรมชาติลงโทษ น้ำท่วมในภาคกลางหลายคนได้มีการสร้างกลุ่มในFacebookขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย เช่นกลุ่มนักศึกษาได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อเป็นกระบอกเสียงให้กับประชาชนที่เดือดร้อนจากอุทกภัยให้คนข้างนอกพื้นที่เป็นช่องทางหนึ่งในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและช่วยเหลือคนในพื้นที่ต่อไป
           ผมว่าถึงเวลาแล้วแหละที่เราจะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสโดยใช้พลังของสื่อใหม่หรือว่าสังคมออนไลน์เป็นช่องทางบอกกล่าวเรื่องราวของคนในพื้นที่ 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ในด้านที่สร้างสรรค์ให้โด่งดัง ที่ไม่ใช่เสียงของระเบิดและกระสุนปืน ไม่ว่าจะเป็นประเพณีวัฒนธรรม ศาสนา ภาษา สถาปัตยกรรมฯลฯ ให้คนข้างนอกได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารเหล่านี้ซึ่งไม่ค่อยมีให้เห็นนักจากสื่อกระแสหลัก
          หากเราช่วยกันนำเสนอเรื่องราวแต่สิ่งดีๆอาจปรับเปลี่ยนทัศนคติให้กับคนข้างนอกพื้นที่จากที่มีทัศนคติไม่ดีกับพื้นที่3จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้มีทัศนคติที่ดีได้ เพราะสื่อออนไลน์มีพลังอย่างไม่น่าเชื่อที่จะให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วันอิดิ้ลอัฎฮา54(09-11-2554)





        “อัลลอฮุอักบัรๆๆลาอีลาฮาอิ้ลลัลลอฮุวัลลอฮุอักบัรอัลลอฮุอักบัรวาลิ้ลลาฮิลฮัม”
เสียงตักบีร(การสรรเสริญต่อพระผู้เป็นเจ้า)ดังขึ้นทั่วหมู่บ้านผ่านลำโพงมัสยิดในตอนกลางคืนบ่งบอกให้ชาวบ้านทุกคนรู้ว่าวันรุ่งขึ้นเป็นวันอิดิ้ลอัฎฮา(วันตรุษของมุสลิม)
          บรรยากาศอุ่นๆที่ได้รับอานิสงค์มาจากดวงอาทิตย์ในตอนเช้าผสมผสานกับสายหมอกบางๆแถวไหล่เขาทำให้ผู้คนคึกคักกว่าที่เป้นอยู่ในทุกๆวัน
          วันนี้เป็นวันอิดิ้ลอัฎฮาเป็นวันที่มุสลิมทั่วโลกรอคอยเพราะจะได้ทำพิธีกรรมทางศาสนา(เชือดสัตว์พลี)ตามแบบอย่างของท่านศาสดา โดยวันนี้จะมีกิจกรรมหลักๆที่ให้ชาวมุสลิมทำอยู่หนึ่งอย่างนั่นก็คือ การทำกุรบาน(การเชือดสัตว์พลี)บริจาคให้กับคนยากจน คนชรา เด็กกำพร้าฯ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ถูกบัญญัติไว้ให้กับผู้ที่มีความสามารถทำได้ ผมหมายถึงคนมีเงินน่ะ
          การละหมาดในวันอิดิ้ลอัฎฮาปียี้ถูกกำหนดให้ละหมาดในเวลา 7 โมงครึ่ง เพราะเป็นเวลาที่พอดิบพอดีไม่ร้อนจนเกินไปอีกทั้งจะมีให้กับการเชือดกุรบานด้วย บรรยากาศในวันอิดิ้ลอัฎฮาปีนี้ไม่ได้ต่างจากวันอิดิ้ลอัฎฮาในปีก่อนๆที่เต้มไปด้วยผู้คนในหมู่บ้านมารวมตัวกันในลานกว้างๆบริเวณมัสยิดเพื่อมาละหมาด ซึ่งในวันอิดิ้ลอัฎฮาแต่ละปีนั้นไม่ใช่ว่าจะเป็นวันเชือดกุรบานเท่านั้นแต่ยังเป็นวันรวมญาติอีกด้วย ไม่แปลกเลยว่าทำไมวันนี้ผมจึงไม่คุ้นหน้าคุ้นตากับหลายๆคน เพราะลูกหลานของแต่ละครอบครัวที่ได้จากบ้านไปทำงานที่อื่นไม่มีเวลาได้อยู่บ้าน เลยทำให้ผมไม่ค่อยสู้รู้จักนัก บางคนพามาทั้งครอบครัวทั้งสามีภรรยาลูกเล็กเด็กแดงเต็มไปหมด ผมรู้สึกอุ่นตาอุ่นใจเป็นมากกับบรรยากาศเช่นนี้จะว่าไปแล้วในในระยะเวลาหนึ่งปีหาได้ยากมากที่ลูกหลานจะมารวมตัวกันทั้งหมดหากว่าไม่ใช่เป็นวันนี้หลายๆคนมาพร้อมกับความสุขดูได้จากใบหน้าและรอยยิ้มที่พร้อมจะเป็นพยานให้กับผม
          หลังจากละหมาดเสร็จจะเป็นการจับมือมาอัฟหรือการขอโทษต่อกันในห้วงระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา เด็กจับมือผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่จับมือเด็ก บางคนโอบกอดพ่อแม่ ปู่ ย่า ตา ยายและคนสนิทผสมกลมกลืนกับน้ำตาแห่งความสุข
          ที่สนุกกว่าใครๆในทุกๆปีดูท่าจะหนีไม่พ้นเด็กๆที่คอยรับตังและไอติมจากผู้ใหญ่ใจดีที่คอยมาบริจาคกันทุกๆปี เห็นภาพแล้วอดใจไม่ได้ที่จะไม่นึกถึงตอนยังเป็นเด็กที่คอยเข้าแถวเรียงรายมารับตังกันอย่างล้นหลาม บางคนแย่งคนอื่นกลัวตัวเองจะไม่ได้รับสิทธิเหมือนผู้อื่น บางคนฉลาดหน่อยรับตังแล้วแต่มาเข้าแถวอีกนึกว่าผู้ใหญ่เขาจำไม่ได้ พูดแล้วมันก็จริงนั่นแหละใครจะไปจำได้หล่ะเด็กทั้งโขยงหากไม่ใช่ลูกหลานตัวเอง ผมสังเกตเด็กพวกนั้นข้างๆถังไอติม
          หลังจากกิจกรรมภายในบริเวณมัสยิดได้ผ่านพ้นไปก็มาถึงเวลาการเชือดกุรบาน(เชือดสัตว์พลี) ปีนี้บ้านผมไม่ได้เชือดกุรบานเหมือนทุกๆปีเพราะไม่มีตังแต่ยังไงผมก็ได้กินเหมือนทุกๆปีเพราะบ้านย่าและบ้านญาติผมเชือดกุรบานทุกปี พี่ ป้า น้า อาและหมู่คณาญาติพร้อมใจกันมารวมตัวเพื่อมาร่วมด้วยช่วยกันชำแหละเนื้อและช่วยกันทำกับข้าว ปีนี้บ้านย่าผมเชือดสัตว์สองตัวคือแพะกับวัว ซึ่งสัตว์สองประเภทนี้ฮิตติอชาร์ทมากสำหรับคนบ้านผมเพราะเป้นสัตว์ที่ห่ง่ายและกินอร่อย
          ตกค่ำเสียงเรไรดังขึ้นกลางป่า บ้านย่าผมยังครึกครื้นอยู่ดูท่าแล้วยากที่จะเลิกราในส่วนของความสนุกตรงนี้ กลางวันทำเนื้อ กลางคืนทำโรตีแม้แต่แม่ผมก็ยังไปทำทำทั้งไม่เป็นนั่นแหละสนุกสนานกันถ้วนหน้า เสียงแซวจากคนข้างๆดังเจียวจาวเต็มไปหมดหยอกล้อเล่นกันราวกับว่ากลางคืนเป้นเพียงเวลาในนาฬิกาเท่านั้น

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วันนี้ที่บางปลาหมอ





                                                                             
         “ผมเชื่อเหลือเกินว่าความทรงจำทั้งหมดของผมสามารถเล่าเรื่องได้ในขณะที่เสียงชัตเตอร์ดังขึ้น”
          วันนี้เป็นวันหนึ่งที่ผมอยากออกไปถ่ายรูปกับเพื่อน(บัน)ตามปกติวิสัยในตอนเย็น ตามอารมณ์และความรู้สึกที่ได้เรียกร้องเข้ามา สั่งการให้สมองไปบอกต่อกับร่างกายว่า ถึงเวลาแล้วที่ต้องทำตามความรู้สึกของตัวเอง
          วันนี้แสงไม่ค่อยดีนักเมื่อแหงนไปดูท้องฟ้าเห็นเมฆครึ้มราวกับสีหน้าของคนที่เศร้าหมอง เราสองคน(ผมกับบัน)มีความรู้สึกเหมือนกันที่อยากไปถ่ายรูป แต่มีปัญหาอยู่ว่าจะไปถ่ายรูปที่ไหนกัน(เกือบทุกครั้งที่คิดไม่ออกว่าจะไปถ่ายที่ไหนดี) คิดอยู่ตั้งนานสองนานกว่าจะได้สถานที่ถูกใจเหมาะแก่ความทรงจำดีๆเมื่อผ่านพ้นห้วงเวลาในส่วนของตรงนี้ไป ที่คิดนานไม่ใช่ว่าไม่มีที่ไป แต่ที่คิดนานก็เพราะว่า สถานที่ใกล้ๆกับ ม.อ.ปัตตนีพวกเราไปกันหมดทุกที่แล้วเลยรู้สึกเบื่อที่จะไปเหยียบที่ซ้ำๆอีก
          “ เออตูคิดออกแล้วไอรูน บางปลาหมอไงน่าสนใจป่าว ” บันพูดด้วยน้ำเสียงจริงจัง

          “ เอาไงเอากัน ” ผมพูดตกลงตามคำขอของบัน
   หลังจากนั้นเราทั้งสองก็ออกเดินทางไปตามอัธภาพของสภาพอากาศแวดล้อมที่ไม่ค่อยเต็มใจนัก ระหว่างที่ขับรถไปบางปลาหมอนั้นมีฝูงนกกระยางฝูงหนึ่งอยู่บริเวณนากุ้ง ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นนากุ้งร้างพอมองจากหญ้าที่ขึ้นรกพอสมควรผมได้หยุดรถกะทันหันเพื่อที่จะบันทึกภาพนกกระยาง
          “ บันเมิงเดินเบาๆนะโว้ยเดี่ยวนกกระยางตื่น เตรียมกล้องให้พร้อมอย่ารีบร้อนจนเกินไปและที่สำคัญรอผมด้วย ” ผมบอกบันขณะที่มือกำลังหยิบกล้องขึ้นมาจากกระเป๋า ขณะนั้นบันได้เดินเข้าไปก้าวนึงโผล่หัวให้นกกระยางเห็นจนทำให้นกกระยางตื่นและโบยบินขึ้นท้องฟ้าด้วยความตกใจอย่างรวดเร็วราวกับมัจุราชโผล่หน้ามาเอาชีวิต
       นกกระยางสายตามันดีจังขนาดเราอยู่ห่างกันตั้งไกลประมาณ
2-3 ร้อยเมตรน่าจะได้ คงเป็นสัญชาตญาณของสัตว์ที่ต้องการเอาตัวรอดหากตอนนั้นผมเป็นนกกระยางผมคงทำอย่างนั้นเช่นกัน ผมคิดอยู่ในใจโดยไม่ได้เอ่ยให้ใครฟัง
          เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเราทั้งสองได้ออกเดินทางกันต่อ ขับรถได้ไม่เกิน
5 นาทีก็ถึงจุดหมายของวันนี้แล้ว บนสะพานบ้านบางปลาหมอเราได้ตกลงปลงใจกันเพื่อหยุดรถตรงนี้ เมื่อมองออกไปทางข้างใต้ของสะพาน ก็จะเห็นทางสัญจรของเรือประมงที่ชาวประมงใช้ในการเดินเรือไปออกหากุ้ง หอย ปู ปลา ตามประสาชาวประมง จังหวะนั้นพอดีผมได้หันไปทางฝั่งขวาของคลองเมื่อนับจากทางที่ผมขี่รถมา  เห็นภาพหนึ่งที่อดใจไม่ได้ที่จะเข้าไปเก็บภาพ เก็บความทรงจำระหว่างสองฝั่งคลองเอาไว้ภาพที่ว่านั้นก็คือ ชาวบ้านกำลังร่วมมือกันช่วยซ่อมแซมเรือประมงที่ชำรุด มีทั้งเด็ก วัยรุ่นและผู้ใหญ่ แม้กระทั่งผู้หญิงลูกอ่อนที่กำลังให้นมลูกอยู่ก็ยังมี บางคนทำ บางคนมอง บางคนพูด ซึ่งผมไม่ค่อยได้เจอมากนักตั้งแต่มาเรียน ม.อ.ปัตตานี แต่คิดว่าเรื่องแบบนี้ในชุมชมน่าจะเห็นได้เป็นเนืองๆ ถ่ายรูปไม่ทันเสร็จเมฆครึ้มได้แปรเปลี่ยนเป็นเม็ดฝนเป็นตัวแทนจากฟากฟ้ามาบอกผมว่า วันนี้คงหมดเวลาสนุกแล้ว ราวกับการ์ตุนเทเลแท็บบี้ ที่บอกกับผู้ชมทุกครั้งเมื่อสิ้นสุดรายการ “ หมดเวลาสนุกแล้วซิๆ ” อย่างไงอย่างงั้น เรื่องราวของวันไม่ได้สิ้นสุดเพียงเท่านี้ เราได้ส่งท้ายของวันกันที่ร้านแวมะโรตี นั่งกินน้ำชาร้อนๆ โรตีอุ่นๆ กับบรรยากาศที่ชุ่มฉ่ำไปด้วยเม็ดฝน มองแล้วกลมกลืนกันซะเหลือเกินกับบรรยากาศเช่นนี้


                                       
                                              




วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ผมเองนายรัตชากร หอมหวล

                
    สวัดดีคับ คุณผู้อ่านผมชื่อนายรัตชากร หอมหวล 5220610019 เรียนที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี คณะวิทยาการสื่อสาร เอกนิเทศศาสตร์ ตอนนี้กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นปีที่3 ปกติเป็นคนที่มีนิสัยชอบดูชอบมอง ผมหมายถึงชอบดูชอบมองในเรื่องของตัวหนังสือ ภาพถ่ายหรือว่ามองผ่านเลนส์อะไรประมาณนี้ เพราะรู้สึกว่าความจริงย่อมปรากฎให้ผมเห็นอยู่ตลอดเวลาในขณะที่ผมลั่นช้ตเตอร์ ชีวิตเริ่มเคลื่อนไหวไปตามการหมุนของโลกและเปลี่ยนผันไปตามกาลเวลา ขณะที่ผมยืนนิ่งเพื่อรอโอกาสหยุดโลกด้วยความเร็วชัตเตอร์ มันเป็นสิ่งที่มีความสุขมากสำหรับในการบันทึกความเป็นไปของโลกหรือแม้กระทั่งการอ่านหนังสือของผมมันเปรียบเสมือนกับโลกทั้งใบกำลังเคลื่อนไหวไปตามจินตนาการของผมที่ซ่อนเร้นไปตามความหมายที่มีอยู่ระหว่างบรรทัดให้มีความหมายลึกซึ้งตามอารมณ์ที่ควรจะเป็น